วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สื่อการเรียนรู้

http://ecurriculum.mv.ac.th/nuke/

แผนการจัดการเรียนรู้ 3 การถนอมอาหาร

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓
เรื่อง การถนอมอาหาร
สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๑๐ ชั่วโมง
......................................................................................................................................................................
๑. มาตรฐานการเรียนรู้ ง ๑.๑ (๑-๕) / ๑.๒ (๑-๔) / ๓.๑ (๕) / ๔.๑ (๘) / ๕.๑ (๑)
มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะ มีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับงานบ้าน งานเกษตร งานช่าง งานประดิษฐ์ และงานธุรกิจ
ข้อ ๑.เข้าใจความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ หลักการ วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการทำงาน การจัดการ สามารถทำงานและประเมินผลการทำงาน
ข้อ ๒.เลือกใช้ ซ่อมแซม ดัดแปลง เก็บ บำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงาน
ข้อ ๓.สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน
ข้อ ๔.ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม มุ่งมั่น อดทน
ข้อ ๕.ใช้พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างคุ้มค่าและถูกวิธี
มาตรฐาน ง ๑.๒ มีทักษะ กระบวนการทำงาน และการจัดการ การทำงานเป็นกลุ่มการแสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาในการทำงาน รักการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่องาน
ข้อ ๑ สามารถวิเคราะห์งาน วางแผนการดำเนินงาน ปฏิบัติงานตามแผน ประเมินและปรับปรุง
การดำเนินงาน
ข้อ ๒ สามารถทำงานในฐานะผู้นำ/สมาชิกกลุ่ม และใช้วิธีการที่หลากหลายในการสร้าง
สัมพันธภาพที่ดีในกลุ่ม
ข้อ ๓ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานจากแหล่งความรู้ต่างๆ
ข้อ ๔ สามารถวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา สร้างทางเลือกที่หลากหลายในการแก้ปัญหา ตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมและแก้ปัญหาตามแนวทางที่เลือก
ข้อ ๕ มีความมุ่งมั่นทำงานจนสำเร็จ เห็นคุณค่าของการทำงาน ทำงานอย่างมีความสุขและมีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบ ปลอดภัย และสะอาด
๒.สาระสำคัญ
การถนอมอาหาร คือ วิธีการต่างๆ ที่ทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารไว้รับประทานได้นานกว่าปกติ โดยไม่บูดเน่าเสีย และไม่ทำให้อาหารเสียคุณค่ามากนัก ประโยชน์ของการถนอมอาหาร คือ ช่วยให้มีอาหารรับประทานต่างฤดูกาล และได้อาหาร ที่มีรสชาติและรูปแบบแปลกๆ ด้วยการถนอมอาหารที่นิยมทำกันมีหลายวิธี เช่น การตากแห้ง การหมักดอง การแช่อิ่ม และการกวน
๓.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. อธิบายความหมายและความสำคัญในการถนอม อาหารประเภทกวน และประโยชน์ที่จะได้รับ
๒. เลือกอาหารที่จะนำมาถนอมอาหารได้
๓. อธิบายขั้นตอนการถนอมอาหารประเภทกวนได้

๔.สาระการเรียนรู้ (จุดประสงค์นำทาง)

๑. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและความสำคัญในการถนอม อาหารประเภทกวน และประโยชน์ที่
จะได้รับ
๒. นักเรียนสามารถเลือกอาหารที่จะนำมาถนอมอาหารได้
๓. นักเรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการถนอมอาหารประเภทกวนได้
๕.กิจกรรมการเรียนรู้
๑. ขั้นนำ

๑. ครูนำกล้วยมาให้นักเรียนดูแล้วสนทนาซักถามนักเรียนเกี่ยวกับการเก็บรักษากล้วยไม่ให้บูดเน่า ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
- นักเรียนมีวิธีการเก็บรักษากล้วยไว้รับประทานได้นานโดยไม่ทำให้กล้วยเสียคุณค่า
- การถนอมอาหารหมายถึงอะไร
- การถนอมอาหารมีกี่วิธี
- การกวนมีกี่วิธี
- ผลไม้อะไรบ้างที่สามารถนำมากวนได้
- ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้นักเรียนทราบ
๒. ขั้นสอน


๒.ให้นักเรียนดูตัวอย่างผลไม้ที่กวนเสร็จแล้ว เช่น กล้วยกวน มะยมกวน ทุเรียนกวน ซักถามว่านักเรียนนิยมรับประทานผลไม้กวนชนิดใด
๓.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕-๖ รูป ศึกษาการถนอมอาหารประเภทกวน เช่น สับปะรด ถั่วกวนจากหนังสือเรียนหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ และนำผลไม้ในฤดูกาลมาถนอมอาหารโดยวิธีการกวน
๔. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนและเตรียมการเพื่อสาธิตการกวนผลไม้ในห้องอาหารของโรงเรียน
๕ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้
- นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดอาหารที่ถนอมอาหารโดยวิธีการกวนจึงมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น
- นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดต้องมีขั้นตอนการหยดผลไม้กวนในน้ำเย็น
๖. ให้นักเรียนร่วมกันสรุปจากการอภิปรายของแต่ละกลุ่มว่าได้ความรู้อะไรบ้าง แล้วจดบันทึกความรู้ลงในสมุด
๓. ขั้นสรุป
๗.ครูสรุปร่วมกับนักเรียนเกี่ยวกับประโยชน์ของการกวนและการจัดจำหน่าย และให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าจะสามารถนำความรู้เรื่อง การถนอมอาหารไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง จากนั้นเขียนบันทึกลงใน แผนภาพในใบงานที่ ๕
๖.สื่อและแหล่งการเรียนรู้
๑. ใบงาน
๒. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
๓. ภาพตัวอย่างการถนอมอาหาร
๗.การวัดผลและประเมินผล
๑. การประเมินผลตามสภาพจริง
- สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมการเรียนของนักเรียน
- สังเกตความตั้งใจ เอาใจใส่ และความรับผิดชอบของนักเรียน
- สังเกตทักษะกระบวนการกลุ่ม การรายงานหน้าชั้นเรียน
๒. การตรวจผลงาน
- ใบงานที่ ๕
- ผลงานการศึกษาเรื่อง การถนอมอาหาร
๓. เกณฑ์การประเมินผล
๓.๑ ได้คะแนนจากการตรวจใบงานแต่ละใบงาน ได้คะแนนในแต่ละใบงาน ๕ คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน ถือว่าผ่านเกณฑ์
บันทึกผลการเรียนรู้
๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

๒. ปัญหาอุปสรรค

๓. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ลงชื่อ.............................................
(นางสาวนารี แก้วนิกร)
ผู้สอน
ข้อคิดเห็นเสนอแนะของผู้บริหาร
.......................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................
ลงชื่อ................................................. ครูใหญ่/ผู้ตรวจ
(พระอธิการพิษณุ วิชฺชรโต)

ข้อคิดเห็นเสนอแนะของฝ่ายวิชาการ
.......................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................
ลงชื่อ................................................. ฝ่ายวิชาการ/ผู้ตรวจ
(นายเฉลิมพล บุราณเดช)

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา



เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
บทนำ
การศึกษาเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาศัยสื่อที่ทันสมัยโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและผู้คนหลายสิบล้านคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารในเวลาอันสั้น การศึกษาหาข้อมูลและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพียงแต่ปลายนิ้วสัมผัส โดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) เกิดเป็นชุมชนบนเครือข่ายขึ้น ผู้คนสามารถติดต่อสัมพันธ์กันผ่านจอคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น ข้อมูลข่าวสารความรู้จึงกลายเป็นกุญแจสำคัญไปสู่อำนาจและความมั่นคงของประเทศและเป็นกุญแจที่จะไปสู่ข้อมูลข่าวสารความรู้ ก็คือ "การศึกษา"

โลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็ยากจะจินตนาการได้ทั้งหมด แต่ก็พอจะคาดการณ์ได้ว่าในปี ค.ศ. 2000 ขึ้นไป จะมีงานใหม่ๆ เกิดขึ้นและเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้นการคิดระบบการศึกษาใหม่ ซึ่งเป็นการเตรียมนักศึกษาสำหรับงานในอนาคตเป็นภาระหน้าที่ของนักการศึกษา ร่วมถึงบริษัทห้างร้าน และสังคมต้องร่วมมือกันในการจัดการศึกษา (F.J.Eyschen. 1994)
การเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมจะ ลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไป เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

แนวคิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

ถ้าย้อนกลับมาดูพัฒนาการทางการศึกษาของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าอาศัยความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกล ตัวอย่างที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ใช้ระบบนี้ในการจัดการศึกษาซึ่งพบว่า การจัดการศึกษาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านการสื่อสารทั้งสิ้น กล่าวคือ สมัยแรกที่กิจการไปรษณีย์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง การสอนทางไกลก็จะไปเกี่ยวกับการบริการทางไปรษณีย์คือการเอาสิ่งพิมพ์ในรูปของตำราส่งไปทางไปรษณีย์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนที่บ้าน ต่อมาเมื่อวิทยุเข้ามามีบทบาทในการ สื่อสาร มหาวิทยาลัยทางวิทยุก็เกิดขึ้น และใช้สื่อวิทยุซึ่งเป็นสื่อเสียงในการสอน และก็อาจมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย และเมื่อโทรทัศน์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารมวลชน ก็เกิดมีมหาวิทยาลัยที่สอนโดยใช้โทรทัศน์ร่วมกับเอกสาร สิ่งพิมพ์
มาถึงยุคปัจจุบันมีการพัฒนา การด้านการสื่อสารหลายๆ อย่าง โดยมีความคิดว่าจะไม่ขึ้นอยู่กับสื่อสารใด สื่อสารหนึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่ ต้องใช้การสื่อสารหลายๆ รูปแบบที่เรียกว่า "การใช้สื่อสารแบบประสม"

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น